The Omega De Ville series was born around 1960 as part of the larger Seamaster series of watches. It was, at the time, the continuation of the classic dress watch heritage the Seamaster had embodied since 1948, but one that had become less important since the launch of the first dive watch in the series in 1957. It was in 1967 that the De Ville fake collection became independent of the Seamaster line, and began to develop its own individual charm and heritage. These were watches that continued to be dressy, classic, and elegant, but now appealed to a much wider market of consumers through their interesting designs, variety of cases — including squares, rectangles, and ovals — competitive prices, and timelessness of their dials. cheap cartier replicacartier replicaRepliche Orologi Di LussoRepliche Orologi rolexBreitling Replica watchesBreitling Replica ukBreitling Replica watchesCheap Breitling ReplicaBreitling Replicareplica watches chinacheap replica watchescartier replicacartier replica watchescheap Rolex replicaRolex replica watchescheap Rolex replicaRolex replica As you can tell, I like the modern Omega De Ville fake Prestige line. It is a collection far from the limelight that often graces Omega’s flagship collections, and, in my opinion, is one of the last holdouts, in a relatively affordable sense, of a classic watch meant to slip subtly beneath a shirt cuff. Some cheap fake watches are underappreciated, some watches are understated; I feel that this watch happens to be both. Rolex Replica Watchesreplica watches onlinecheap replica watchesomega replicaRolex replicaRolex replicaRolex replica watchescheap replica watchescheap replica watchescheap fake watchescheap fake watchesrolex replica watches
Get Adobe Flash player

 

ประวัติความรุ่งเรืองอาณาจักรสุโขทัย 

อาจารย์อรอนงค์ อิงชำนิ
ปฏิบ้ติราชการแทนอธิการบดี
มหาวิทยาลัยรามคำแหง

 

 

  

 

 

 

 

Please install plugin JVCounter!

                    ประเทศไทยมีมรดกทางศิลปวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ที่ได้รับการสืบทอดมา
อย่างยาวนาน มีวิถีชีวิตแบบไทยที่สอดประสานกับธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอันอุดมสมบูรณ์นั้น
ไว้ด้วยภูมิปัญญาในการสร้างสรรค์ และปรับตัว   จนมีรูปแบบของศิลปะ ความเชื่อ ความศรัทธา
และวิถีชีวิตที่มีความเฉพาะด้านในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งภาพความเป็นไทยเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่
ศิลปวัฒนธรรม และประเพณีที่สืบทอดกันมายาวนาน นับเป็นความภูมิใจที่ชนรุ่นหลังควรได้
ตระหนักว่า มรดกทางภูมิปัญญาอันงดงาม และทรงคุณค่านี้เองที่นำมาซึ่งความเจริญของ
ชนชาติไทย เป็นตัวชี้วัดความเจริญของสังคม มีผลต่อการเจริญก้าวหน้าของประเทศ เพราะ
ประเทศจะเจริญก้าวหน้าหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับการพัฒนาคนในสังคม และมีดุลยภาพ จากการ
พัฒนาคนในสังคม เป็นสังคมแห่งปัญญา และการเรียนรู้ โดยคนไทยสามารถเรียนรู้ได้ตลอด
ชีวิต ร่วมใจกันพัฒนาภูมิปัญญาไทย ควบคู่กับการอนุรักษ์ สืบสาน ศิลปะ และวัฒนธรรมไทย
จึงจำเป็นและมีความสำคัญต่อการพัฒนาคน และสังคมไทยอยู่หลายประการ การเสริมสร้าง
การปลูกจิตสำนึกที่ดีงาม เหมาะสมกับสภาพของสังคมไทยเกิดความร่วมมือร่วมใจ ส่งเสริม
ขนบธรรมเนียมที่ดีงาม ทำให้เกิดการถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่งนับว่าเป็นการ
สืบทอดเอกลักษณ์ไทย

                                ในการผลิตสื่อนิทรรศการออนไลน์ในครั้งนี้ จะกล่าวถึง ประวัติความเป็นมา และ
จุดเริ่มต้นของอาณาจักรสุโขทัยที่ผู้ศึกษาสามารถจินตนาการถึงความยิ่งใหญ่ที่ก่อตัวเป็นอาณาจักร
ในยุคนั้นมีประวัติของพระมหากษัตริย์ผู้ปกครองเมืองและเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคต่างๆ ทำให้ทราบถึง
ระบบการปกครองของยุคสมัยนั้นความกว้างขวางของการติดต่อสร้างสานสัมพันธ์การค้าขายกับต่างประเทศ ระบบเงินตราที่ใช้ในยุคสมัยนั้น

                      

                    อาณาจักรสุโขทัยก่อตั้งขึ้นประมาณ  พ.ศ. ๑๗๘๐  พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
ทรงพระนามเดิมว่า   พ่อขุนบางกลางหาว   ทรงสถาปนาสุโขทัยขึ้นมา สร้างความเป็นปึกแผ่น
ให้กับชนชาติไทยโดยขยายเขตการปกครองออกไปอย่างกว้างขวาง สุโขทัยเป็นราชอาณาจักร
อยู่ประมาณ ๒๐๐ ปี จึงถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาเมื่อ พ.ศ. ๑๙๘๑ 

                      

                    เดิมที สุโขทัย เป็นสถานีการค้าของแคว้นละโว้ (ลวรัฐ) ของอาณาจักรขอม
บนเส้นทางการค้าผ่านคาบสมุทรระหว่างอ่าวเมาะตะมะ กับเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลาง
(ประเทศลาว)     โดยมีพ่อขุนศรีนาวนำถม เป็นผู้ปกครอง และดูแลกิจการภายในเมืองสุโขทัย
และศรีสัชนาลัย

                    เมื่อพ่อขุนศรีนาวนำถมสวรรคต ขอมสบาดโขลญลำพง ซึ่งเป็นตรวจราชการ
จากลวรัฐ เข้าทำการยึดอำนาจการปกครองสุโขทัย จึงส่งผลให้ พ่อขุนผาเมือง (พระราชโอรส
ของพ่อขุนศรีนาวนำถม) เจ้าเมืองราด และพ่อขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยาง ตัดสินพระทัย
ยึดดินแดนคืน การชิงเอาอำนาจจากผู้ครองเดิมคือ อาณาจักรขอม เมื่อปี พ.ศ. ๑๗๘๑ และ
สถาปนาเอกราช ให้กรุงสุโขทัยขึ้นเป็นรัฐอิสระ โดยไม่ขึ้นตรงกับรัฐใด

                                    

                      จากนั้นพ่อขุนผาเมือง ก็กลับยกเมืองสุโขทัย ให้พ่อขุนบางกลางหาว
ปกครองพร้อมทั้ง พระแสงขรรค์ชัยศรี และพระนาม กำมรเตงอัญศรีอินทรบดินทราทิตย์
ซึ่งพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทรงพระราชทานให้พ่อขุนผาเมืองก่อนหน้านี้ โดยคาดว่า เหตุผลคือ
พ่อขุนผาเมืองมีพระนางสิขรเทวีพระมเหสี (ราชธิดาของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗) ซึ่งพระองค์
เกรงว่าชาวสุโขทัยจะไม่ยอมรับ แต่ก็กลัวว่าทางขอมจะไม่ไว้ใจจึงมอบพระนามพระราชทาน
และพระแสงขรรค์ชัยศรี ขึ้นบรมราชาภิเษก พ่อขุนผาเมืองให้เป็นกษัตริย์ เพื่อเป็นการตบตาราช
สำนักขอม

                    

 

 

ประวัติพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

                                   

                      พ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นพระราชโอรส ของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ปฐมกษัตริย์
แห่งกรุงสุโขทัย พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ มีพระมเหสีคือ พระนางเสือง มีพระราชโอรสสามพระองค์
พระราชธิดาสองพระองค์ พระราชโอรส องค์ใหญ่สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังเยาว์ องค์ที่สองมีพระนามว่า บานเมือง และพระราชโอรสองค์ที่สาม คือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช เมื่อพระชันษาได้ ๑๙ ปี
ได้ชนช้างชนะขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด พ่อขุนศรี อินทราทิตย์ จึงพระราชทานนามว่า

"พระรามคำแหง"

                เมื่อสิ้นรัชสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์   และพ่อขุนบานเมืองแล้ว พระองค์ได้ครอง
กรุงสุโขทัย ต่อมาเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๓ แห่งราชวงศ์พระร่วงสันนิษฐานว่าพระองค์
สิ้นพระชนม์ในราวปี พ.ศ.๑๘๖๐ รวมเวลาที่ทรงครองราชย์ประมาณ ๔๐ ปี

 

พระเจ้ารามคำแหงมหาราช

       เมื่อแรกตั้งอาณาจักรสุโขทัยนั้น  อาณาเขตยังไม่กว้างขวาง
เท่าใดนัก เขตแดนทางทิศใต้จดเพียงเมืองปากน้ำโพ ใต้จาก
ปากน้ำโพลงมายังคงเป็นอาณาเขตของขอมอันได้แก่เมืองละโว้
ทางฝ่ายตะวันตกจดเพียงเขาบันทัด ทางเหนือมีเขตแดนติดต่อ
กับประเทศลานนาที่ภูเขาเขื่อนส่วนทางตะวันออกก็จดอยู่เพียง
เขาบรรทัดที่กั้นแม่น้ำสักกับแม่น้ำน่าน ในระหว่างที่ทรงครองราชย์
อยู่นั้น พระเจ้าศรีอินทราทิตย์ก็ได้กระทำสงครามเพื่อขยาย
เขตแดนของไทยออกไปอีกในทางโอกาสที่เหมาะสมดังที่มี
ข้อความปรากฏอยู่ในศิลาจารึกว่า พระองค์ได้เสด็จยกกองทัพไปตีเมืองฉอด ได้ทำการรบพุ่งตลุมบอนกันเป็นสามารถถึงขนาดที่
พระเจ้าศรีอินทราทิตย์ ได้ทรงกระทำยุทธหัตถีกับขุนสามชนเข้า
เมืองฉอด แต่พระองค์เสียทีแก่ขุนสามชน แลในครั้งนี้เองที่
เจ้ารามราชโอรสองค์เล็กของพระองค์ได้เริ่มมีบทบาทสำคัญ

ด้วยการที่ทรงถลันเข้าช่วยโดยไสช้างทรงเข้าแก้พระราชบิดาไว้ ทันท่วงที แล้วยังได้รบพุ่งตีทัพ
ขุนสามชนเข้าเมืองฉอดแตกพ่ายกระจายไป

                เจ้ารามคำแหง จะมีพระนามเดิมว่าอย่างไรไม่ปรากฏชัดแต่สมเด็จกรมพระยาดำรง
ราชานุภาพพระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ ได้ทรงสันนิษฐานว่า คงจะเรียกกันว่า “เจ้าราม” 
แลเมื่อเจ้ารามมีพระชนมายุได้ ๑๙ ชรรษา ได้ตามสมเด็จพระราชบิดาไปทำศึกกับขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดและได้ทรงแสดงความเก่งกล้าในทาสไสช้างทรงเข้าแก้เอาพระราชบิดาไว้ได้ทั้งตีทัพขุน
สามชนแตกพ่ายไปแล้วพระราชบิดาจึงถวายพระนามเสียใหม่ว่า “เจ้ารามคำแหง”

              เจ้ารามคำแหง ทรงเป็นมหาราช
องค์ที่สองของชาวไทย และทรงเป็นมหาราช
พระองค์เดียวในสมัยสุโขทัย พระองค์ทรงเป็นอัจฉริยกษัตริย์ทรงชำนาญทั้งในด้านการรบ
การปกครอง   และการศาสนา   พระองค์ทรง
ขยายอาณาจักรสุโขทัยออกไปได้กว้างใหญ่
ไพศาลด้วยวิเทโศบายอันแยบยลสุขุม
คัมภีรภาพทั้งทรงปกครองไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน
ด้วยความยุติธรรมได้รับความร่มเย็นเป็นสุขกัน
ทั่วหน้า     ซึ่งข้าพเจ้าจะได้กล่าวถึงพระราช
กรณียกิจของพระองค์เป็นอันดับไปดังต่อไปนี้

                   การขยายอาณาจักร

                   เมื่อพรเจ้ารามคำแหง เสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติสืบต่อจากพ่อขุนบาลเมืองนั้น อาณาจักรสุโขทัยนับว่าตกอยู่ในระหว่างอันตรายรอบด้าน และยากทำการขยายอาณาจักรออกไปได้ เพราะทางเหนือก็ติดต่อกับแคว้นลานนา อันเป็นเชื้อสายไทยด้วยกันมีพระยาเม็งรายเป็นเจ้าเมืองเงินยางและพระยางำเมืองเป็นเจ้าเมืองพะเยาและทั้งพระยาเม็งรายและพระยางำเมือง ขณะนั้นต่างก็มีกำลังอำนาจแข็งแกร่งทั้งคู่ ทางตะวันออกนั้นเล่าก็ติดต่อกับดินแดนของขอม ซึ่งมีชาวไทยเข้าไปตั้งภูมิลำเนาอยู่มาก ตะวันตกของอาณาจักรสุโขทัยก็จดเขตแดนมอญและพม่า ส่วนทางใต้ก็ถูกเมืองละโว้ของขอมกระหนาบอยู่

                 ด้วยเหตุนี้พระเจ้ารามคำแหงจึงต้องดำเนินวิเทโศบายในการแผ่อาณาจักรอย่างแยบยล     และสุขุมที่สุดเพื่อหลีกเลี่ยงการฆ่าฟันระหว่างคนไทยด้วยกันเอง    คือแทนที่จะขยายอาณาเขตไปทางเหนือ หรือตะวันออกซึ่งมีคนตั้งหลักแหล่งอยู่มาก พระองค์กลับทรงตัดสินพระทัยขยายอาณาเขตลงไปทางใต้     อันเป็นดินแดนของขอม และทางทิศตะวันตกอันเป็นดินแดนของมอญ เพื่อให้คนไทยในแคว้นลานนาได้ประจักษ์ในบุญญาธิการ และได้เห็นความแข็งแกร่งของกองทัพไทยแห่งอาณาจักรสุโขทัยเสียก่อน แล้วไทยในแคว้นลานนาก็อาจจะมารวมเข้าด้วยต่อภายหลังได้โดยไม่ยาก

                     แต่แม้จะได้ตกลงพระทัย  ดังนั้น พระเจ้ารามคำแหงก็ยังคงทรงวิตกอยู่ในข้อที่ว่า ถ้าแม้ว่าพระองค์กรีฑาทัพขยายอาณาเขตลงไปสู้รบกับพวกขอมทางใต้แล้วพระองค์อาจจะถูกศัตรูรุกรานลงมาจากทางเหนือก็ได้ บังเอิญในปี พ.ศ. ๑๘๒๙ กษัตริย์ในราชวงศ์หงวนได้ส่งทูตเข้ามาขอ       ทำไมตรีกับไทย พระองค์จึงยอมรับเป็นไมตรีกับจีน เพื่อป้องกันมิให้กองทัพจีนยกมารุกรานเมื่อพระองค์ยกทัพไปรบเขมร พร้อมกันนั้นก็ได้ทรงพยายามสร้างความสนิทสนมกับไทยลานนาเช่นได้เสด็จด้วยพระองค์เองไปช่วยพระยาเม็งราย สร้างราชธานีที่นครเชียงใหม่เป็นต้น แหละเมื่อเห็นว่าสัมพันธไมตรีทางเหนือมั่นคงแล้ว พระองค์จึงได้เริ่มขยายอาณาจักรสุโขทัยลงไปทางใต้ตามลำดับ คือ ใน พ.ศ. ๑๘๒๓ ทรงตีได้เมืองนครศรีธรรมราช และเมืองต่างๆ ในแหลมมลายูตลอดรวมไปถึงเมืองยะโฮร์ และเกาะสิงคโปร์ในปัจจุบันนี้

                      

                   ใน พ.ศ. ๑๘๔๒  ตีได้ประเทศเขมร (กัมพูชา)

                    ส่วนทางทิศตะวันตกที่มีอาณาเขตจดเมืองมอญนั้นเล่าพระเจ้ารามคำแหงก็ได้ดำเนินการอย่างสุขุมรอบคอบเช่นเมื่อได้เกิดความขึ้นว่า มะกะโท อำมาตย์เชื้อสายมอญ ซึ่งมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดและได้มารับราชการใกล้ชิดพระองค์ได้กระทำความผิดชั้นอุกฤติโทษ โดยลักพาเอาพระธิดาของพระองค์หนีกลับไปเมืองมอญ แทนที่พระองค์จะยกทัพตามไปชิงเอาตัวพระราชธิดาคืนมา พระองค์กลับทรงเฉยเสียด้วยได้ทรงคาดการณ์ไกล ทรงมั่นพระทัยว่า มะกะโท ผู้นี้คงจะคิดไปหาโอกาสตั้งตัวเป็นใหญ่ในเมืองมอญ ซึ่งถ้าเมื่อมะกะโทได้เป็นใหญ่ในเมืองมอญก็เปรียบเสมือนพระองค์ได้มอญมาไว้ในอุ้มพระหัตถ์ โดยไม่ต้องรบราฆ่าฟันกันให้เสียเลือดเนื้อ ซึ่งต่อมาการณ์ก็ได้เป็นไปตามที่ได้ทรงคาดหมายไว้ คือมะกะโท ได้เป็นใหญ่ครอบครองอาณาจักรมอญทั้งหมด แลได้เข้าสามิภักดิ์ต่ออาณาจักรสุโขทัย  โดยพระเจ้ารามคำแหง   มิต้องทำการรบพุ่งประการใดพระองค์ได้เสด็จไปทำพิธีราชภิเษกให้มะกะโท และพระราชทานนามให้ใหม่ว่า “พระเจ้าฟ้ารั่ว”

                      ด้วยวิเทโศบายอันชาญฉลาด  สุขุมคัมภีรภาพของพระองค์นี้เอง จึงเป็นผลให้อาณาจักรไทย ในสมัยพระเจ้ารามคำแหงแผ่ขยายออกไปอย่างกว้างขวาง ปรากฎตามหลักศิลาจารึกว่าทางทิศใต้จดแหลมมลายูทิศตะวันตกได้หัวเมืองมอญทั้งหมด ได้จดเขตแดนหงสาวดี จดอ่าวเบงคอล ทิศตะวันออกเฉียงใต้ประเทศเขมร มีเขตตั้งแต่สันขวานโบราณไปจดทะเลจีน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือได้เมืองน่าน  เมืองหลวงพระบางทั้งเวียงคำฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง  ทิศเหนือมีอาณาเขตจดเมืองลำปาง  กล่าวได้ว่าเป็นครั้งตั้งแต่ ตั้งอาณาจักรไทยที่ได้แผ่นขยายอาณาเขตไปได้กว้างขวางถึงเพียงนั้น

                     เมื่อได้ทรงขยายอาณาเขตของอาณาจักรสุโขทัยออกไปอย่างกว้างขวางดังกล่าวแล้วพระเจ้ารามคำแหง  ยังได้ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองอีกเป็นอันมาก   เช่นได้ทรงสนับสนุนในทางการค้าพานิช  เลิกด่านเก็บภาษีอากรและจังกอบ  เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้คนไปมาค้าขายกันได้โดยสะดวกได้ยิ่งขึ้น  ได้ส่งเสริมการ ทำอุตสาหกรรมทำเครื่องถ้วยชาม  ถึงกับได้เสด็จไปดูการทำถ้วยชามในประเทศจีนถึงสองครั้ง แล้วนำเอาช่างปั้นถ้วยชามชาวจีนเข้ามาด้วยเป็นอันมาก เพื่อจะ ได้ให้ฝึกสอนคนไทยให้รู้จักวิธีทำถ้วยชามเครื่องเคลือบดินเผาต่างๆ  ซึ่งปรากฏว่าได้เจริญรุ่งเรืองมากในระยะนั้น

                  ในด้านทางศาลก็ให้ความยุติธรรมแก่อาณาประชาราษฎรโดยทั่วถึงกันไม่เลือกหน้าทรงเอาพระทัยใส่ในทุกข์สุขของอาณาประชาราษฎร์ถึงกับสั่งให้เจ้าพนักงานแขวนกระดิ่งขนาดใหญ่ไว้ที่ประตูพระราชวังด้านหน้าแม้ใครมีทุกข์ร้อนประการใดจะขอให้ทรงระงับดับเข็ญแล้วก็ให้ลั่นกระดิ่งร้องทุกข์ได้ทุกเวลา   ในขณะพิจารณาสอบสวนและตัดสินคดี    พระองค์ก็เสด็จออกฟังและตัดสินด้วยพระองค์เองไปตามความยุติธรรมแสดงความเมตตาแก่ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินเสมือนบิดากับบุตร ทรงชักนำให้ศาสนาประกอบการบุญกุศลศรัทธาในพระพุทธศาสนา  พระองค์เองทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภกได้ทรงสร้างแท่นมนังศศิลาไว้ที่ดงตาล สำหรับให้พระสงฆ์แสดงธรรมและบางครั้ง ก็ใช้เป็นที่ประทับว่าราชการแผ่นดิน

                    การปกครอง

                    ลักษณะการปกครองในสมัยของพระเจ้ารามคำแหงหรือราษฎรมักเรียกกันติดปากว่าพ่อขุนรามคำแหงนั้น พระองค์ได้ทรงถือเสมือนหนึ่งว่าพระองค์เป็นบิดาของราษฎรทั้งหลาย  ทรงให้คำแนะนำสั่งสอน ใกล้ชิดเช่นเดียวกับบิดาจะพึงมีต่อบุตร โปรดการสมาคมกับไพร่บ้านพลเมืองไม่เลือกชั้นวรรณะ ถ้าแม้ว่าใครจะถวายทูลร้องทุกข์ประการใดแล้ว ก็อนุญาตให้เข้าเฝ้าใกล้ชิดได้ไม่เลือกหน้าในทุกวันพระมักเสด็จ ออกประทับยังพระแท่นศิลาอาสน์ ทำการสั่งสอนประชาชนให้ตั้งอยู่ในศีลธรรม

                    ในด้านการปกครองเพื่อความปลอดภัยและมั่นคงของประเทศนั้นพระองค์ทรงถือว่าชายฉกรรจ์ที่มีอาการครบ ๓๒  ทุกคนเป็นทหารของประเทศ พระเจ้าแผ่นดินทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพ ข้าราชการก็มีตำแหน่งลดหลั่นเป็นนายพล นายร้อย นายสิบ ถัดลงมาตามลำดับ

                     ในด้านการปกครองภายใน จัดเป็นส่วนภูมิภาคแบ่งเป็นหัวเมืองชั้นใน ชั้นนอก และเมืองประเทศราชสำหรับหัวเมืองชั้นในมีพระเจ้าแผ่นดินเป็นผู้ปกครองโดยตรง มีเมืองสุโขทัยเป็นราชธานี เมืองศรีสัชนาลัย   (สวรรคโลก) เป็นเมืองอุปราชมีเมืองทุ่งยั้งบางยมสองแคว (พิษณุโลก) เมืองสระหลวง (พิจิตร) เมืองพระบาง (นครสวรรค์) และเมืองตากเป็นเมืองรายรอบ

                    สำหรับหัวเมืองชั้นนอกนั้น เรียกว่าเมืองพระยามหานคร ให้ขุนนางผู้ใหญ่ที่ไว้วางพระราชหฤทัยไปปกครองมีเมืองใหญ่บ้างเล็กบ้าง เวลามีศึกสงครามก็ให้เกณฑ์พลในหัวเมืองขึ้นของตนไปช่วยทำการรบป้องกันเมืองหัวเมืองชั้นนอกในสมัยนั้นได้แก่เมืองสรรคบุรี อู่ทอง ราชบุรีเพชรบุรี ตะนาวศรี เพชรบูรณ์ และเมืองศรีเทพ

                     ส่วนเมืองประเทศราชนั้น   เป็นเมืองที่อยู่ชายพระราชอาณาเขตมักมีคนต่างด้าวชาวเมืองเดิมปะปนอยู่มาก จึงได้ตั้งให้เจ้านายของเขานั้นจัดการปกครองกันเองแต่ต้องถวายดอกไม้เงินดอกไม้ทองทุกปี   และเมื่อเกิดศึกสงครามจะต้องถล่มทหารมาช่วย   เมืองประเทศราชเหล่านี้ได้แก่ เมืองนครศรีธรรมราช มะละกา ยะโฮร์ ทะวาย เมาะตะมะ หงสาวดี น่าน หลวงพระบาง    เวียงจันทร์ และเวียงคำ

พื้นที่อาณาจักรสุโขทัย

 

๑. ทิศเหนือ มีเมืองแพร่ (ปัจจุบันคือแพร่)
    เป็นเมืองปลายแดนด้านเหนือสุด

๒. ทิศใต้ มีเมืองพระบาง (ปัจจุบันคือนครสวรรค์)
    เป็นเมืองปลายแดนด้านใต้

๓. ทิศตะวันตก มีเมืองฉอด (ปัจจุบันคือแม่สอด)
    เป็นเมืองชายแดนที่จะติดต่อเข้าไปยังอาณาจักรมอญ

๔. ทิศตะวันออก ถึงเมืองสะค้าใกล้แม่น้ำโขง
    ในเขตภาคอีสานตอนเหนือ

 

                    การค้าสมัยอาณาจักรสุโขทัย

                    พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ขยายอำนาจลงไปตลอดแหลมทอง โดยได้ครอบครองอาณาจักรฟูนัน อาณาจักรทวาราวดี และอาณาจักรศรีวิชัย ที่มีการค้าขายมาก่อน กรุงสุโขทัยมีตลาดใหญ่ มีการค้าขายติดต่อกับต่างประเทศ อาทิ การค้าขายกับจีน การค้าขายกับมอญ พ่อขุนรามคำแหง ได้ทรงมองเห็นช่องทางที่จะทำให้ประเทศมั่งคั่งสมบูรณ์ จากการค้าขายระหว่างเมืองและระหว่างประเทศ ทรงให้ชาวสุโขทัยค้าขาย ดังในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงตอนหนึ่งกล่าวว่า

                    “เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำแหงเมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลาในนามีข้าวเจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ลู่ทาง เพื่อนจูงงัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงินค้าทองค้า ไพร่ฟ้าหน้าใส”

                     การค้าขายกับต่างประเทศ 

                     ทางบก มีเส้นทางที่สำคัญ ๓ เส้นทาง ได้แก่

                ๑. เส้นทางสุโขทัย - เมาะตะมะ จากสุโขทัยไปตามถนนพระร่วงถึงเมือง กำแพงเพชร  จากนั้นมีเส้นทางผ่านเมืองตาก  ตัดออกช่องเขาที่แม่สอด ผ่านเมืองเมียวดี ไปยังเมืองเมาะตะมะ

                ๒. เส้นทางสุโขทัย - ตะนาวศรี จากสุโขทัยผ่านเมืองเพชรบุรี เมืองกุยบุรี

เมืองมะริด จนถึงเมืองตะนาวศรี

                ๓. เส้นทางสุโขทัย - เชียงใหม่ จากสุโขทัยผ่านเมืองตาก เมืองลำพูน

จนถึงเมืองเชียงใหม่

                        ทางน้ำ มีเส้นทางน้ำ คือ แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำแม่กลอง ซึ่งไหลลงสู่อ่าวไทยสามแห่ง ทำให้การลำเลียงสินค้าไปต่างประเทศมีหลายทาง การคมนาคมทางน้ำใต้ประจวบคีรีขันธ์ลงไป เป็นการคมนาคมริมฝั่งทะเล      และแม่น้ำลำคลอง ทั้งสายสั้นสายยาวที่ขนานกับฝั่งไปถึงสงขลา ปัตตานี

                       เงินตราที่ใช้สมัยสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ๒๐)

                  ในสมัยสุโขทัย ได้มีการผลิต เงินพดด้วง ขึ้นใช้เป็นครั้งแรกในระยะแรกเงินพดด้วงมีขนาด และรูปร่างไม่ได้มาตราฐานต่อมาได้มีการเปลี่ยนไปใช้วัสดุเงินและปรับปรุงน้ำหนักให้เป็น มาตราฐานเดียวกัน มาตราเงินใช้ ตำลึง บาท สลึง ส่วนตราที่ประทับได้แก่ ตราช้าง ตราสังข์ ตราราชสีห์ และตราราชวัตร นอกจากเงินพดด้วงยังมีการใช้เบี้ยเป็นเงินตราเบี้ยมีอยู่ ๘ ชนิด ได้แก่ เบี้ยโพล้ง เบี้ยแก้ เบี้ยหมู เบี้ยจั่น     เบี้ยนาง เบี้ยบัว เบี้ยพองลม และเบี้ยตุ้ม ซึ่งเบี้ยจั่นเป็นเบี้ยที่นิยมใช้กันมากที่สุด

            

 

                     ลักษณะเศรษฐกิจสมัย สุโขทัย

                     ลักษณะเศรษฐกิจสมัย สุโขทัย ขึ้นอยู่กับอาชีพหลักของราษฎร คือ การเกษตรกรรม หัตถกรรม และ ค้าขาย

                 การเกษตรกรรม

                 อาชีพหลักของชาวสุโขทัย คือ เกษตรกรรมได้แก่ ทำนา ทำไร่ ทำสวน และการเลี้ยงสัตว์ มีการสร้างระบบชลประทานที่เป็นพื้นฐานที่สำคัญในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม เนื่องจากสุโขทัยมีปัญหาความแห้งแล้งในฤดูแล้ง เพราะดินเป็นดินปนทราย ทำให้ดินไม่อุ้มน้ำจึงมีการสร้างเขื่อนดินทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของตัวเมือง สุโขทัย

                 หัตกรรม

                    ผลผลิตทางด้าน อุตสาหกรรมที่มีชื่อเสียงมากของสุโขทัยคือ เครื่องสังคโลก มีแหล่งผลิตอยู่ที่เมืองศรีสัชนาลัย และเมืองสุโขทัย สินค้าเครื่องสังคโลกที่ผลิต ได้แก่ ถ้วย โถ จาน ไห กระปุก เป็นต้น นอกจากค้าขายกันภายในประเทศแล้ว ยังส่งออกไปขายต่างประเทศอีกด้วย ซึ่งจากการสำรวจทางโบราณคดีได้พบแหล่งเตาเผามากมาย โดยเฉพาะบริเวณทิศเหนือนอกกำแพงเมืองสุโขทัย น้ำโจน และเมืองศรีสัชนาลัย ริมฝั่งแม่น้ำยมที่รู้จักกันดี คือ เตาทุเรียงสุโขทัย เตาทุเรียงป่ายาง และเตาทุเรียงเกาะน้อย

        

                         การเก็บภาษีในยุคสุโขทัย

                    ข้อความในศิลาจารึกได้กล่าวถึง “จกอบ หรือจังกอบ” เป็นภาษีชนิดหนึ่งที่เรียกเก็บจากพ่อค้าที่นำสินค้ามาค้าขาย แต่ในยุคพ่อขุนรามคำแหงมหาราชนี้ระบุว่า “เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ลู่ทาง” แปลว่าในยุคนั้นไม่มีการเก็บภาษีส่วนนี้

                     แสดงว่าการเรียกเก็บภาษี “จกอบ” เกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนหน้านั้นเสียอีก ตีความได้ว่าในยุคนั้น มีเศรษฐกิจดีเสียจนไม่ต้องมาการเรียกเก็บภาษีก็เป็นได้

 http://www.sukhothai.go.th/history/hist_10.htmhistory

/prathesthiy-smay-kxn-prawatisastr/thailand-tra

https://sites.google.com/site/prawatisassukhothay/tirphumi-phrarwng