The Omega De Ville series was born around 1960 as part of the larger Seamaster series of watches. It was, at the time, the continuation of the classic dress watch heritage the Seamaster had embodied since 1948, but one that had become less important since the launch of the first dive watch in the series in 1957. It was in 1967 that the De Ville fake collection became independent of the Seamaster line, and began to develop its own individual charm and heritage. These were watches that continued to be dressy, classic, and elegant, but now appealed to a much wider market of consumers through their interesting designs, variety of cases — including squares, rectangles, and ovals — competitive prices, and timelessness of their dials. cheap cartier replicacartier replicaRepliche Orologi Di LussoRepliche Orologi rolexBreitling Replica watchesBreitling Replica ukBreitling Replica watchesCheap Breitling ReplicaBreitling Replicareplica watches chinacheap replica watchescartier replicacartier replica watchescheap Rolex replicaRolex replica watchescheap Rolex replicaRolex replica As you can tell, I like the modern Omega De Ville fake Prestige line. It is a collection far from the limelight that often graces Omega’s flagship collections, and, in my opinion, is one of the last holdouts, in a relatively affordable sense, of a classic watch meant to slip subtly beneath a shirt cuff. Some cheap fake watches are underappreciated, some watches are understated; I feel that this watch happens to be both. Rolex Replica Watchesreplica watches onlinecheap replica watchesomega replicaRolex replicaRolex replicaRolex replica watchescheap replica watchescheap replica watchescheap fake watchescheap fake watchesrolex replica watches
Get Adobe Flash player

อาจารย์อธิปวัฌณ์  อมรปัญญานันท์

รองอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรม

atipwach.a@rumail.ru.ac.th

Please install plugin JVCounter!

แม่โพสพเทพนารีแห่งข้าว

 

วิถีชีวิตในการยังชีพของคนไทยนั้น ต้องบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก ดังนั้น ข้าวจึงผูกพันกับชีวิตคนไทยมานานนับหลายศตวรรษ ดั่งคำว่า “ข้าวคือชีวิต” คนไทยเชื่อว่าข้าวเป็นสิ่งที่มีบุญคุณ มีจิตวิญญาณ มีเทพธิดาชื่อว่า “แม่โพสพ” ประจำอยู่ในต้นข้าว แม่โพสพเป็นผู้คอยดูแลต้นข้าวให้เจริญงอกงาม ถ้าผู้ใดได้ทำพิธีตามคติความเชื่อและบูชากราบไหว้แม่โพสพแล้วจะทำให้ผู้นั้น ร่ำรวยอุดมสมบูรณ์ และข้าวสามารถให้คุณให้โทษแก่มนุษย์ได้มนุษย์เราเป็นหนี้บุญคุณแม่โพสพเป็น อันมาก ถ้าวันใดไม่ได้บริโภคเนื้อหนังมังสาของแม่โพสพ วันนั้นแทบจะว่าเอาชีวิตไว้ไม่อยู่ ดังนั้นมนุษย์จึงควรเชิดบูชาแม่โพสพซึ่งเป็นผู้ที่ได้ชื่อว่าเลี้ยงโลกให้ อยู่เย็นเป็นสุข ฉะนั้นหากดูแลเอาใจใส่แม่โพสพให้สุขสบาย แม่โพสพก็จะไม่หลบลี้หนีหายไปจากท้องนาและทำให้ข้าวงอกงามสมบูรณ์ ในอดีตเราจึงได้เห็นรูปคุณย่าคุณยายยกมือขึ้นไหว้หลังจากอิ่มจากสำรับอาหาร แล้ว เพื่อขอบคุณแม่โพสพที่ประทานข้าวมาให้อิ่มแต่ละมื้อ แม้ปัจจุบันจะไม่ค่อยได้เห็นภาพเช่นนั้นแล้วแต่ยังมีคำสั่งสอนว่ากินข้าวให้ หมด ไม่เช่นนั้นแม่โพสพจะเสียใจ ด้วยเหตุนี้เองเมื่อแรกจะทำนาและตลอดฤดูถึงการเก็บเกี่ยว จึงมีการประกอบพิธีเซ่นไหว้แม่โพสพเป็นระยะๆ ไป

เสฐียรโกเศศ ให้ข้อวิเคราะห์ว่า การที่ผีหรือเทวดาประจำพืชพรรณธัญญาหารของชาติต่างๆ ในโลกมักเป็นเทวดาผู้หญิง คงเป็นเพราะข้าวเป็นสิ่งที่เลี้ยงชีวิตให้เจริญเปรียบเหมือนมารดาที่เลี้ยง บุตร ประเทศไทยเราเรียกว่าแม่โพสพหรือเพี้ยนเป็น พสพ หรือ ประสพ ก็มี เข้าใจว่าโพสพเป็นคำเพี้ยนไปจากไพสพซึ่งเป็นเทพพิทักษ์ขุมทรัพย์ในดินหรือมา จากคำว่าไพสพราชซึ่งเป็นชื่อตราตำแหน่งดวงหนึ่งของเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิ การของโบราณ

ตำนานหรือนอทาน เกี่ยวกับแม่โพสพหรือแม่โคสก(อีสาน) มีเล่าต่อกันมาทุกภาคจะแตกต่างกันไปบ้างตามแต่ละท้องถิ่น โดยแตดต่างกัน 2 แนวคือ นิทานภาคกลางและภาคใต้จะมีเรื่องตรงกันแนวหนึ่ง อีกแนวหนึ่งเป็นนิทานภาคเหนือและภาคอีสาน

 

 

ตำนานแม่โพสพของภาคกลางและภาคใต้

บางตำนานเล่าว่า แม่โพสพเป็นเทวีแห่งข้าว มีภาหะเป็นปลากรายทองและปลาสำเภา ในวันหนึ่งที่เมืองไพสาลีกลางสโมสรสันนิบาตมนุษย์ได้ปรึกษากันว่าระหว่างพระ พุทธเจ้าและแม่โพสพใครมีคุณมากกว่ากันที่ประชุมต่างกราบทูลว่าคุณของพระ พุทธเจ้าใหญ่กว่าแม่โพสพ และพระเพชรฉลูกรรณได้ฟังดังนั้น ก็ข้องใจว่ารักษามนุษย์อยู่ มนุษย์ไม่เห็นความดีจึงทรงปลากรายหนีไปยังป่าหิมพานต์เขาคชกูฏ เมื่อแม่โพสพจากไปก็เกิดความอดอยากให้ขึ้นในโลกมนุษย์ ทำไร่ไถนาไม่มีข้าวมีแต่แกลบมนุษย์จึงชวนกันไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าให้พระมาตุลีไปเชิญนางกลับ พระนางตุลีตามไปถึงเขาทบกันก็ไปไม่ได้ จึงใช้ให้ปลาสลาดไปตามต่อจนพบ ปลาสลาดได้อ้อนวอนขอให้นางกลับคืนโลก นางตอบว่า “อยู่ที่นี่เราสบาย ถ้าจะไปใจแม่หายเพราะเขาไม่รู้บุญคุณ แม่จะให้แต่เมล็ดข้าวไปดูแลฝูงคน เมื่อเก็บนึกถึงเรา เราจะไปปีละหน ตรวจดูผู้คน เก็บเกี่ยวแล้วให้ทำขวัญ” นางได้มอบเมล็ดข้าว 7 เมล็ด (บ้างก็ว่า 9 เมล็ด) ไปทำพันธุ์ พระเพชรฉลูกรรณให้แม่เหล็ก 1 อันสำหรับตั้งพร้า นางยังสั่งด้วยว่ามนุษย์ทำไร่ไถนา เมื่อข้าวใกล้สุกก็ให้จัดพิธีทำขวัญให้แต่งด้วยขวัญข้าว และด้วยที่ปลาสลาดเป็นผู้บอกทางที่นางซ่อนแก่พระมาตุลี นางจึงสั่งนำปลาสลาดมาเป็นเครื่องเซ่นสังเวยด้วย ปลาสลาดก็ลากลับมาเล่าให้พระมาตุลีฟังตามคำแม่โพสพ พระมาตุลีรับเมล็ดข้าวแล้วเหาะกลับ ในระหว่างทางพระมาตุลีจึงหยุดพักอาบน้ำนกกระจาบได้แอบลักเมล็ดข้าวสองเมล็ด บินหนี ข้าวสองเมล็ดได้ตกลงมายังโลกมนุษย์กลายเป็นข้าวผี พระมาตุลีนำเมล็ดข้าวพันธุ์ข้าวถวายพระพุทธเจ้าพระพุทธเจ้าจึงเรียกมนุษย์มา พร้อมกัน ทรงอธิบายให้มนุษย์ฟัง และแจกเมล็ดพันธุ์ข้าวให้แก่มนุษย์ ตั้งแต่นั้นมาเมื่อข้าวใกล้สุกมนุษย์จะทำขวัญเชิญแม่โพสพเป็นประจำทุกปี

ซึ่งเรื่องราวนี้คล้ายกับคำกล่าวผูกขวัญทางภาคใต้ ว่า

“พระมาตุลีกับพระภูมี พระเพดสนูกรรม์ รับสั่งทรงธรรม์ ชวนกันคลาไคลไปหาปลากราย ยังองศาใต้ หรือว่าอย่างไร กับท่านปลาสลาด เป็นสหายหทัย ท่านรับสั่งไป ถึงพระมารดา มาตุลีสั่งแล้ว ชวนกันแคล้วคลา ยังแต่ฝูงปลา ปรึกษากันไป ว่าจะทำอย่างไร สหายทรงธรรม์ จะไปสองคนก็เปลี่ยวเสี่ยวสัน เพราะหนทางนั้น ลำบากเหลือใจ เราชวนฝูงปลา พาไปให้มาก ปลาน้อยปลาใหญ่ ล่องลอยวารี ไปกันมากมี แต่ล้วนมัจฉา ปลาใหญ่ปลาน้อย ล่องลอยคงคา รับพระมารดา กลับมาคืนเมือง สุดแสนเวทนาเดินทางมรคา ใครจะมาเหมือน ยังมีภูเขา ขวางอยู่เจ็ดแห่ง ยังมีแม่น้ำขวางอยู่เจ็ดแถว หัวใจแคล้วๆ มากกลางทะเล............................บัดเดี๋ยวมาใกล้ เขาแก้วมณี ที่พระชนนี เข้าอยู่อาศัย ”

ตำนานแม่โพสพของภาคเหนือและภาคอีสาน

ตำนานแม่โพสพที่มีผู้จารึกไว้ในใบลานด้วย อักษรธรรมที่วัดศรีภูมิ บ้านนาหอ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ว่านานมาแล้ว พญาวิรูปักขาเป็นผู้ให้กำเนิดข้าวต่อมาสมัยพระพุทธเจ้าผู้มีพระนามว่า กุกกุสันโท ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าองค์แรก ได้มีผู้นำเอาข้าวมาเลี้ยงคนและสัตว์ในชมพูทวีป ปรากฏว่าข้าวในสมัยนั้นเมล็ดใหญ่โตมากมีกลิ่นหอมและรสอร่อย แต่เมื่อต้องกินต้องใช้มีดพร้าผ่ามานึ่งกิน ต่อมาถึงพระพุทธเจ้าผู้มีพระนามว่า โกนาคมโน เมล็ดข้าวก็เล็กลงบ้าง แต่ยังมีกลิ่นหอมและรสอร่อยเหมือนเช่นเคย

ในสมัยต่อมามีหญิงชราหม้ายคนหนึ่งเคยมี สามีถึง 7 คน สามีตายหมดต้องอยู่คนเดียว ทั้งไม่มีลูกหลานจะพึ่งพาอาศัย คราวหนึ่งขณะนางกำลังทำยุ้งข้าวอยู่ เมล็ดข้าวก็พากันบินหลั่งไหลมารวมกัน ณ ใต้ถุนบ้านของนาง ยายแม่หม้ายโกรธมากที่เมล็ดข้าวมามากมาย เนื่องจากนางยังทำยุ้งไม่เสร็จนางจึงเอาไม้ขนาดใหญ่ตีเมล็ดข้าวเหล่านั้นให้ แตกกระจายเป็นซีกเล็กๆ ดังนั้นข้าวก็ตกใจพากันไปอยู่ตามเถื่อน (ป่า) ถ้ำ และหนอง ชาวบ้านให้ชื่อนั้นว่านางโพสพ ข้าวนั้นไม่กลับมาหามนุษย์อีก ผู้คนพากันอดข้าวเป็นเวลานานมานถึงพันปี

มีลูกเศรษฐีคนหนึ่งไปเที่ยวป่าหลายวัน อดอาหารจึงเอาเหล็กแทงลงไปในน้ำเพื่อหาปลา บังเอิญแทงไปถึงปลาไหลทองตัวหนึ่ง ท้องแตกกระจายไปทั่ววังน้ำ มีพญาปลากั้ง (ตัวคล้ายปลาช่อน) ตัวหนึ่งมาพบเข้าจึงอ้อนวอนขอแลกปลาไหลทองด้วยนางโพสพ คือข้าว ลูกเศรษฐีตกลงจึงเรียกนางโพสพ คือข้าวมาหาและมอบให้ลูกเศรษฐีไป นางโพสพขัดขืนไม่อยากไปเมืองมนุษย์เพราะกลัวถูกตีอีก

มีเทวดาสององค์เนรมิตปลาและกวางทองมาช่วย พูด ขอให้นางโพสพไปอยู่เมืองมนุษย์เพื่อเลี้ยงคนและสืบพระศาสนานางโพสพเห็นเป็น เทวดาก็ไม่อาจขัดได้จึงตกลงไปกับลูกเศรษฐีพอมาถึงพระพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสโป เมล็ดข้าวก็เล็กลงมาอีกและมีกลิ่นหอมและรสอร่อยเช่นเดิมตลอดมา จนถึงพระพุทธเจ้าที่ทรงพระนามว่า โคตโม เมล็ดข้าวเล็กลงอีกมีกลิ่นหอมและรสอร่อยเช่นเคย

 

ต่อมามีพญาองค์หนึ่งเสวยราชแต่เป็น กษัตริย์อธรรมเกิดฝนแล้ง คนอดอยาก พญาองค์นั้นได้ทำยุ้งฉางหลวงข้าวไว้แจกจ่ายประชาชนจึงมาขอรับข้าวไปแลกของ กินและสิ่งของต่างๆ และขายเอาเงินมาใช้ ข้าวโกรธจึงหนีไปอยู่หินองต่อใกล้พระฤๅษีตนหนึ่งซึ่งพำนักอยู่ ณ ที่นั้น ประชาชนอดอยากอยู่ประมาณสามร้อยปี ผู้คนตายกันทั้งเมือง ยังเหลืองแต่ตายายสองผัวเมีย และได้เข้าป่าไปหาพระฤๅษีเพื่อขออาหารกินและได้เล่าถึงความอดอยากให้พระฤๅษี ฟัง พระฤๅษีสงสารจึงเรียกนางโพสพ หรือข้าวมาหาแล้วมอบให้สองเฒ่านั้น ชั้นแรกนางโพสพขัดขืนไม่ยอมไป ต่อมาพระฤๅษีบอกคาถาให้สองเฒ่านั้นเสกใส่นางโพสพ นางโพสพถูกคาถาจึงตกลงไปยังเมืองมนุษย์อีกและและพระฤๅษีเสกให้ข้าวชนิดต่างๆ ด้วยพระฤๅษีให้สองเฒ่านั้นนำเมล็ดข้าวไปปลูก คราวแรกต้นเหี่ยวตายสองเฒ่าจึงแต่เครื่องขวัญเรียกวิญญาณนางโพสพ และเอาคาถาที่พระฤๅษีบอกให้มาเสกใส่น้ำแล้วไปรดต้นข้าว ต้นข้าวจึงงอกงามดี เมล็ดข้าวได้แตกออกเป็นเมล็ดเล็กมากมาย สองเฒ่าจึงได้เอาเมล็ดข้าวแจกจ่ายไปยังบ้านเมืองต่างๆ ทั่วไปและแนะนำปลูกข้าวให้ทราบวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับข้าว เช่น มีการทำบุญคูณลาน เมื่อนวดข้าวกองไว้ที่ลานและทำพิธีเรียกขวัญข้าวหรือเจ้าแม่โพสพด้วย สองเฒ่าอายุยืนถึงพันปีจึงถึงแก่กรรม พันธุ์ข้าวได้แพร่หลายไปตามบ้านเมืองต่างๆ อย่างกว้างขวางตลอดมาจนตราบเท่าทุกวันนี้

อีกตำนานหนึ่งเล่าว่า

ข้าวมาจากเทวดาผู้หญิง ชื่อนางโคสก นางโคสกเป็นมเหสีของท้าวสักกะเทวราชซึ่งหมดบุญในสวรรค์ และต้องเกิดมาเป็นมนุษย์ซึ่งนางไม่ต้องการ นางต้องการอุทิศเนื้อหนังมังสาของนางให้เป็นอาหารเพื่อให้มนุษย์ได้บริโภค นางจึงขอพรต่อท้าวสักกะเทวราชผู้เป็นสามีว่า ขอให้นางได้เกิดเป็นอาหารของมนุษย์เถิด อย่าให้ต้องได้เกิดเป็นมนุษย์อีก เพราะมนุษย์มีชีวิตอยู่อย่างลำบาก ไม่มีอาหารบริโภค เมื่อได้ประทานพรแล้วนางจึงได้ลงมาในโลกมนุษย์เป็นหญิงสาวสวยงาม เดินถือดอกปาริชาตจากสวรรค์เข้าไปหาพระฤๅษีตาไฟที่นั่งหลับตาภาวนาอยู่ในป่า หิมพานต์ ตามปกติพระฤๅษีตาไฟจะลืมตาปีละครั้งในฤดูดอกปาริชาตบาน ถ้าลืมตานอกฤดูกาลไฟจากดวงตาจะจะไหม้สรรพสิ่งให้เป็นจุณไปหมด เมื่อพระฤๅษีได้กลิ่นดอกปาริชาตจึงแปลกใจว่าทำไมจึงมีกลิ่นกอดปาริชาตทั้งๆ ที่ยังไม่ถึงฤดู จึงลืมตาขึ้น ไฟจากดวงตาไหม้นางเป็นจุณ พระฤๅษีสงสัยจึงเอาน้ำรดนางตรงนั้น แล้วอธิษฐานให้นางคืนชีพ เมื่อนางคืนชีพจึงบอกความประสงค์แด่พระฤๅษี แล้วร่างของนางเป็นเมล็ดข้าวขนาดกว้าง 8 นิ้ว ยาว 16 นิ้ว โดยประมาณวางอยู่ พระฤๅษีจึงขออธิษฐานขอให้นางบรรลุวัตถุประสงค์ แล้วยกไม้เท้าตีเมล็ดข้าวให้แตกกระจาย แผ่ไปทั่วโลกบางส่วนตกลงไปในป่ากลายเป็นหัวเผือก หัวมัน บางส่วนตกลงไปในทุ่ง ในหนอง ในที่ราบก็เป็นข้าว เมื่อมนุษย์ไปพบเห็นก็เก็บมาทดลองกินพบว่ากินได้ กินดี จึงนำมาเพาะปลูก เผยแพร่สืบต่อมา ข้าวมีชีวิตเหมือนคน มีปีกบินไปไหนมาไหนได้เหมือนนก เมล็ดข้าวโตเหมือนผลแตงโมข้าวมีจิตใจ รู้จักรัก รู้จักโกรธใครทำดีพลีถูก ข้าวจะบินมาอยู่ในเล้าเองมนุษย์ไม่ต้องปลูกข้าว เพียงแต่สร้างยุ้งไว้คอยเท่านั้น ถึงฤดูการข้าวจะบินมาอยู่เต็มยุ้ง เมื่อนำข้าวมากินไม่ต้องตำ เพียงแต่เอามีดผ่าเอาเมล็ดข้าวสารหุงกินได้ ต่อมามีแม่หม้ายนางหนึ่ง ถึงฤดูกาลแล้วยังสร้างยุ้งไม่เสร็จข้าวบินเข้ามาในยุ้งทำให้เกิดความวุ่นวาย และเนื่องจากนางเป็นคนใจร้าย จึงเอาไม้คานหาบไล่ตีข้าวแตกกระจาย พร้อมกับด่าว่าต่างๆ นานา ข้าวถูกตีตกใจหนีไปและคิดว่ามนุษย์นี้ใจดำใจร้ายนัก เรามาอยู่เพื่อให้กินเป็นอาหารก็ยังไล่ด่าไล่ตี คิดแล้วจึงน้อยใจจึงชักชวนกันไปอยู่ในป่าอยู่เขา เกิดเป็นเผือก เป็นกลอยหมด ทำให้มนุษย์ไม่มีข้าวกิน อดอยากหิวโหยไปมากมาย สองเฒ่าตายายเห็นท่าไม่ดีจึงชักชวนกันไปหาฤๅษีตาไฟที่ป่าหิมพานต์เล่าเรื่อง ให้ฟัง พระฤๅษีสงสารมนุษย์จึงรับอาสาว่าจะไปตามนางโคสกกลับคืน เมื่อพบนางโคสกพระฤๅษีขอร้องให้นางกลับ แต่นางไม่ยอมกลับ โดยกล่าวว่ามนุษย์ใจร้าย พระฤๅษีจึงอ้อนวอน นางบอกว่าถ้าจะให้กลับให้พวกมนุษย์ต้องปฏิบัติต่อนางอย่างเคารพบูชา ว่าแล้วนางจึงกลั้นใจตาย กลายเป็นเมล็ดพันธุ์ข้าวให้พระฤๅษีไปมอบให้ตายาย และฤๅษีสอนตายายว่า จงเอาเมล็ดพันธุ์นี้ไปปลูกขยายพันธุ์ ต่อไปนี้มนุษย์ต้องปลูกข้าวกิน และอย่าลืมบุญคุณนางโคสกการกระทำต่างๆ ต่อนางโคสก เช่น จะปลูก จะเกี่ยว จะหาบ จะนวด ต้องขอต้องขอขมาต่อนางเสียก่อน และหลังจากการเก็บเกี่ยวแล้วต้องบายศรีสู่ขวัญให้นาง ก่อนปลูกข้าวก็ต้องขอที่ต่อทางธรณี พระภูมิและตาแฮกเสียก่อน ต้องแต่งพานหวาน 4 พาน หมาก 4 คำ ยา 4 กอก บูชาสิ่งเหล่านี้ เวลาจะฟาดจะตีก็ต้องทำเช่นเดียวกันจงปฏิบัติต่อนางให้ดี ตายายรับคำฤๅษีแล้วนำข้าวกลับมาปลูกแพร่พันธุ์ และทำพิธีกรรมต่างๆ ขึ้นแต่บัดนั้น

ตำนานทางภาคเหนือเล่าต่อกันมาว่า สมัยก่อนเมล็ดข้าวมีขนาดใหญ่เป็นร้อยเท่าของเมล็ดข้าวปัจจุบัน วันหนึ่งมีเมล็ดข้าวสารติดก้นสุนัข 1 เมล็ดเจ้าของข้าวจึงวิ่งไล่ตามสุนัขตัวนั้นไป โดยข้ามดอยตั้ง 3 ม่อนกว่าจะได้เมล็ดข้าวนั้นคืนมา และเล่ากันต่อไปว่าข้าวมีชีวิตจิตใจ เมื่อถึงฤดูหว่านดำข้าว ข้าวจะหว่านตัวเองลงในนาที่เตรียมไว้ เมื่อสุกได้ที่แล้วก็จะพากันหลุดออกจากรวง แล้วเลื่อนไหลไปสู่ยุ้งฉางที่เจ้าของเตรียมไว้ อยู่มาวันหนึ่งย่าแม่หม้ายกำลังจัดแต่ซ่อมแซมประตูยุ้งข้าวอยู่ข้าวก็พากัน ลื่นไหลจากทุ่งนามาจะเข้าประตูยุ้งให้ได้ย่าแม่หม้ายโมโหจึงหยิบไม้ตีเมล็ด ข้าวแตกออกกระจัดกระจาย ข้าวจึงพากันโกรธย่าแม่หม้าย นับตั้งแต่นั้นมาเมล็ดข้าวจึงมีขนาดเล็กดังเช่นปัจจุบัน

นิทานของชาวลื้อในภาคเหนือบางสำนวนเล่าว่า ในสมัยพระพุทธเจ้านางขวัญข้าวถูกไล่จึงไปอยู่ถ้ำกับพวกครุฑนาค ต่อมาชาวบ้านอดข้าว จึงได้ทำพิธีเชิญแม่โพสพกลับเมือง

จากนิทานตำนานในท้องถิ่นต่างๆ ที่เล่าต่อกันมา จะเห็นได้ว่าความเชื่อเรื่องแม่โพสพเป็นความเชื่อดั้งเดิมของคนไทยก่อนหันมา รับนับถือพุทธศาสนาแสดงให้เห็นการประนีประนอมระหว่างความเชื่อทั้งสองเพื่อ ความเป็นสิริมงคลและความเจริญของชุมชน

 

แหล่งอ้างอิง : กรมวิชาการเกษตร. 2541. ข้าวกับฅนไทย. สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร. หน้า 93-99.